5

ประกันสุขภาพเหมาจ่าย จากเมืองไทยประกันชีวิต

ประกันสุขภาพเหมาจ่ายที่ดีสุด จาก … เมืองไทยประกันชีวิต …

ยุคนี้ต้องเหมาจ่าย ไม่ต้องกังวลส่วนเกินค่ารักษา เพราะด้วยเทคโลยีการแพทย์ที่พัฒนาขึ้น ยิ่งทำให้ค่ารักษาแพงตามไปด้วย ดังนั้นแผนประกันสุขภาพที่เราเลือกก็ต้องรเผื่ออนาคตไว้ด้วย ตอนนี้ผ่าตัดใส่ติ่งยังแสนกว่าบาท แล้วอีก 5 ปี ค่ารักษาจะปรับไปขนาดไหนกัน 

วันนี้เราเลยมีมาให้เลือกถึง 3 แผนด้วยกัน ตามงบประมาณ และความเหมาะสมของแต่ละบุคลล

✔ เหมาจ่าย เอ็กซ์ตร้า ( แผน 3 )

  • จุดเด่น คือ เบี้ยประกันถูกสุดใน 3 แบบแนะนำของเรา เป็นแผนน้องเล็ก
  • เหมาะกับคนงบน้อย หรืออยู่ต่างจังหวัดที่ค่าห้องไม่สูงมากนัก เนื่องจากมีค่าห้องที่ 4,000 บาท/วัน ถ้าสำหรับ กรุงเทพ-ปริมณฑล ก็ไม่พอได้ มีควักเนื้อจ่ายส่วนต่างกันบ้าง หรือต้องหาตัวช่วยเป็นประกันกลุ่มของบริษัท สวัสดิการต่างๆ
  • แต่ถ้าใครอยากเอาไปเป็นตัวเสริม สวัสดิการที่มีอยู่ก่อนแล้ว เรามี เอ็กตร้า แคร์ พลัส ประกันสุขภาพตระกูลเดียวกัน ต่างที่มีความรับผิดชอบส่วนแรก 20,000 บาท ที่เราต้องเอาไปเบิกสวัสดิการของเรา เบี้ยประกันจะถูกลงไปอีก 
  • วงเงินค่ารักษา ไม่มาก ไม่น้อย 500,000 บาท ต่อครั้ง ไม่จำกัดจำนวนครั้งต่อปี แต่ถ้าเข้ารักษาตัวด้วยโรคเดิม อาการเดิมภายใน 90 วัน นับจากวันที่ออกจากโรงพยาบาลครั้งสุดท้าย ให้นับเป็น ครั้งการรักษาเดียวกันด้วย
  • ข้อจำกัด คือ แผนนี้คุ้มครองเฉพาะการนอนโรงพยาบาลเท่านั้น คือ จะอุบัติเหตุ โรคทั่วไป โรคร้าย โรคระบาดอะไร ก็เบิกได้ ถ้านอนโรงพยาบาล
  • แต่เราสามารถเสริม ประกันสุขภาพผู้ป่วยนอก ชดเชยรายวัน ประกันอุบัติเหตุ ไปนะด้วยเช่นกัน  
  • รายละเอียดแบบประกัน คลิก

✔ D health ( แผน 2 )

  • จุดเด่น คือ ค่าห้องจ่ายตามจริง แต่ไม่เกินค่าห้องเดี่ยวมาตรฐานของโรงพยาบาลที่เข้ารักษาตัว ง่ายๆคือ ห้องเดี่ยวราคาเริ่มต้น ราคาถูกสุดของโรงพยาบาลที่เราไปรักษา ไม่มีเพดาน ไม่มีกำหนดขั้นต่ำ อีก 5 ปี 10 ปี ค่าห้องปรับไปเท่าไหร่ ไม่ต้องกังวล ค่าห้องเรา เหมา เหมา 
  • ค่ารักษา คือ ครั้งละ 5 ล้านบาท !!! ไม่ใช่ปีละ 5 ล้าน เป็น ครั้งละ 5 ล้านบาท !!! ไม่จำกัดจำนวนครั้งต่อปีด้วย แต่ถ้าเข้ารักษาตัวด้วยโรคเดิม อาการเดิมภายใน 90 วัน นับจากวันที่ออกจากโรงพยาบาลครั้งสุดท้าย ให้นับเป็น ครั้งการรักษาเดียวกันด้วย 
  • ถือว่า เด่นทั้งค่าห้อง และ วงเงินค่ารักษาเลยเท่าเดียว แต่สำหรับใครที่อยู่ต่างจังหวัด อาจจะขัดใจกับ ค่าห้องเดี่ยวมาตรฐานเล็กน้อย เนื่องจากค่าห้องเดี่ยวต่างจังหวัดไม่สูงมาก เริ่มต้น 3 พันกว่าเท่านั้น แต่สำหรับชาวกรุงเทพแล้ว ค่าห้องเริ่มต้น 6 พัน ++ จนไปถึง หมื่นต้นๆ เลย ถือว่าตอบโจทย์มากๆ สำหรับค่าห้องเหมาจ่าย
  • และที่สำคัญ แผนนี้มีให้เลือกแบบมีความรับผิดชอบส่วนแรก สำหรับใครที่มีสวัสดิการ หรือประกันสุขภาพเล่มอื่นๆอยู่ก่อนแล้ว แต่อยากได้วงเงินเพิ่ม 5 ล้าน/ครั้งการรักษา และยังสามารถปรับเปลี่ยนเป็นแบบไม่มีความรับผิดชอบส่วนแรก เมื่ออายุ 55-65 ปีอีกด้วย
  • ข้อจำกัด คือ แผนนี้คุ้มครองเฉพาะการนอนโรงพยาบาลเท่านั้น คือ จะอุบัติเหตุ โรคทั่วไป โรคร้าย โรคระบาดอะไร ก็เบิกได้ ถ้านอนโรงพยาบาล แต่เราสามารถเสริม ประกันสุขภาพผู้ป่วยนอก ชดเชยรายวัน ประกันอุบัติเหตุ ไปนะด้วยเช่นกัน
  • รายละเอียดแบบประกัน คลิก

✔ Eilte Health ( แผน 1 )

  • อีลิท เฮลท์ มีทั้งหมด แผน วงเงินค่ารักษา  20 – 100 ล้าน ต่อปี แต่แผนที่นิยมคือ แผน 1 เบี้ยไม่สูง แต่คุ้มครองสูงมาก 20 ล้านบาทต่อปี จะป่วยอะไรก็อุ่นใจได้เลย 
  • ค่าห้องอยู่ที่ 10,000 บาทต่อวัน ดังนั้นก็สามารถเลือกห้อง VIP ใหญ่ๆ ได้สบายๆเลย แต่บางโรงพบายาบาล อย่างบำรุงราษฏร์ ก็ต้องจ่ายส่วนต่างกันเล็กน้อย
  • จุดเด่นอยู่ที่ ครอบคลุมการรักษาแบบผู้ป่วยนอกด้วย ตั้งแต่ก่อนเข้ารักษาตัวในรพ. เบิกได้ 10,000 บาท หลังออกจากรพ. . เบิกค่ารักษาติดตามอาการได้ 10,000 บาท รวมถึงคุ้มครองการบาดเจ็บ อุบัติเหตุฉุกเฉิน (ไม่ต้องซื้อประกันอุบัติเหตุเพิ่ม)
  • คลอบคลุม การล้างไต คีโม ฉายแสง รับยามุ่งเป้า รักษามะเร็ง ขณะเป็นผู้ป่วยนอก แบบเหมาจ่ายตามจริง ต่อให้ซื้อประกันสุขภาพผู้ป่วยนอกก็คุ้มครองไม่เท่า อีลิท เฮลท์ เพราะ ค่ารักษามะเร็งเป็นแสนๆ/ครั้ง หรือล้างไต 1 ปี ค่าใช่จ่ายก็เป็นแสน เช่นกัน ซึ่งประกันสุขภาพผู้ป่วยนอกเบิกได้สูงสุด 3,000 /ครั้ง (30ครั้งต่อปี) เท่านั้น
  • คุ้มครองการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยทางอากาศ ( เครื่องบิน-เฮลิคอปเตอร์) ที่ครอบคลุมทั้งใน และต่างประเทศ หากเกิดกรณีฉุกเฉิน เช่น เจ็บป่วยในต่างแดน 
  • รายละเอียดแบบประกัน คลิก
ประกันสุขภาพ

คำศัพท์ต้องรู้ OPD & IPD คืออะไร

OPD ผู้ป่วยนอก – IPD ผู้ป่วยใน

  • ประกันสุขภาพส่วนใหญ่ เน้นไปที่ IPD มากกว่า
    เพราะว่า เป็นค่าใช้จ่ายที่สูง ทั้งค่าห้องพัก ค่าพยาบาลดูแล ค่าอาหาร ค่าแพทย์เยี่ยมไข้ ค่ารักษา ค่าผ่าตัด ค่าวินิฉัยโรค ค่าแลป ค่ายา ค่าน้ำเกลือ จิปาถะ เยอะมากๆค่ะ ต้องมีขั้นต่ำ 20,000 up/ วัน ในโรงพยาบาลเอกชนทั่วไปและถ้าเอกชนชั้นนำก็++ ไปอีกค่ะ
  • ในฐานะคนไข้ ก็คงต้องการ การรักษาที่ดีสุด ถูกต้องแม่นยำ หายเร็ว ถ้ามีประกันที่ครอบคลุมค่าใช้จ่าย ก็ไม่ต้องคิดเยอะ ที่จะเลือกโรงพยาบาลที่ดี หมอที่เก่งอยู่ไหน เราก็พร้อมไปรักษาที่นั้น จริงมั้ยค่ะ
  • ในฐานะตัวแทน อยากให้ลูกค้าพิจารณา “ประกันสุขภาพเหมาจ่าย” นะคะ แบบเหมาจ่ายทำให้หมดกังวลเรื่องค่ารักษาไปได้เยอะเลย … เพราะค่าใช้จ่ายในโรงพยาบาลสูงขึ้นมาก และมีอัตราที่ปรับสูงขึ้นทุกปี ประมาณ 7% ต่อปี ยิ่งกว่าเงินเฟ้อซะอีกนะคะ
6

การเงินต้องบริหาร

คนทำประกัน VS คนไม่ทำประกัน

 
คนหนึ่งเอาเงินก้อนมาทำประกันสุขภาพ ประกันชีวิต ไว้กับเมืองไทยประกันชีวิต กับ อีกคนที่คิดว่าเก็บเงินไว้ดีกว่าไม่ทำประกันหรอก มันสิ้นเปลือง แพง ไม่จำเป็น เหมือนกับการเก็บไข่ใว้ในตระกร้าใบเดียว สุดท้ายเดินไปสะดุดล้มไข่แตกหมดเลย แต่ถ้ากระจายไว้หลายใบ ก็เหมือนการกระจายความเสี่ยงออกไป กระตร้าใบหนึ่งแตก ก็ยังเหลือใบอื่นๆ
  • เมื่อต้องป่วยเข้าโรงพยาบาล คนมีประกัน ไม่ต้องกวักเงินสักบาท ส่วนคนไม่ทำประกันเงินเก็บหายไปครึ่งหนึ่ง
  • เมื่อการเหตุไม่คาดฝัน เสียชีวิตแบบไม่ได้เตรียมใจ คนทำประกันไม่ทิ้งภาระให้คนข้างหลัง มีเงินก้อนให้ด้วย ส่วนคนไม่ทำประกันนอกจากไม่ทิ้งอะไรไว้แล้วอาจจะทิ้งหนี้สินไว้ด้วย

 

การทำประกันต้องทำให้พอเหมาะกับความสามารถให้การส่งเบี้ยด้วยนะคะ เพราะประกันที่เลือกจะอยู่กับเราไป 10 ปี 20 ปี ไม่ใช่ของใช้อื่นที่อายุการใช้งานสั้นๆ ดูราคาอย่างเดียวก็ไม่ได้นะคะ เบี้ยถูกอย่างเดียว ซื้อเลยไม่ดูรายละเอียด กลายเป็นไม่คุ้มครองอะไรเลยก็มีเงินไปนะคะ การเลือกทำประกันอยากให้คุยรายละเอียดกับตัวแทนเยอะๆ ถามทุกอย่างที่สงสัยอย่างเกรงใจตัวแทน แต่ถามแต่เบี้ย ขอแต่ใบเสนอแล้วเอาไปเปรียบเทียบเอง อาจพลาดได้นะคะ

7

Digital Face to Face

เกิดจากสถานการณ์ Covid 19 ทำให้เราต้องเว้นระยะห่างจากกัน ลูกค้าเกิดความไม่สบายใจ ในการให้ตัวแทนเข้าพบ เพื่อทำสัญญาประกัน จึงเกิดการทำประกันยุดโควิดขึ้น เรียกว่า Digital Face to Face มีขั้นตอนเพิ่มขึ้นกว่าการนัดเซ็นเอกสารเล็กน้อย แต่อำนวยความสะดวกให้ลูกค้าที่ไม่สะดวกนัดพบ หรือ ลูกค้าที่อยู่ต่างจังหวัดได้ดีมากๆ ไม่ต้องเซ็นเอกสารบางอย่าง แต่ความคุ้มครองยังเหมือนเดิมทุกอย่าง ทุกขั้นตอนเป็นไปหลักการขอเอาประกันของบริษัท ไม่ต้องกังวลใดๆค่ะ

ขั้นตอนการทำ Digital Face to Face

  • ลูกค้าให้ข้อมูลสำหรับ ทั้งข้อมูลส่วนตัว น้ำหนัก/ส่วนสูง ที่อยู่ อาชีพ ฯลฯ เพื่อให้ตัวแทนกรอกใบคำขอเอาประกัน
  • ตัวแทนส่งเอกสาร ใบเสนอขาย และ ใบคำขอเอาประกัน ให้ลูกค้าตรวจสอบความถูกต้อง
  • ลูกค้าส่งเอกสารแสดงตัวตน สำเนาบัตรประชาชน และรูปถ่ายหน้าตรงให้ตัวแทน
  • ลูกค้ายืนยันตัวตนทาง Line My Customer
  • ลูกค้าชำระเบี้ยประกัน สามารถชำระได้ทั้งแบบการโอนเงินเข้าบริษัท หรือ ตัดบัตรเครดิต (ไม่มีค่าธรรมเนียม)
  • ตัวแทนจัดส่งใบเสร็จรับเงินชั่วคราวให้ลูกค้า
  • ตัวแทนส่งเอกสารทั้งหมดเข้าบริษัทและ พิจารณารับประกันต่อไป

ง่ายๆเท่านี้ก็ไม่ต้องเสี่ยงออกมาบ้านมาพบตัวแทนแล้ว ยังได้ความคุ้มครองเหมือนกันทุกประการเลยค่ะ 

8

โรคที่ประกันไม่คุ้มครอง

โรคที่ประกันไม่คุ้มครอง โรคบางโรคเป็นแบบยังสามารถทำประกันสุขภาพได้ แต่ยกเว้นความคุ้มครองโรคนั้นๆและอาการที่เกี่ยวเนื่องไป แต่บางโรคเป็นแล้วหมดสิทธิ์ทำประกันสุขภาพ รวมถึงประกันชีวิตไปเลยก็มี

  • โรคที่เป็นมาก่อนทำประกันและยังไม่หายขาด : เช่น ริดสิดวง กระเพาะอักเสบ ทอนซิลอักเสบ ปอดอักเสบ ฯลฯ จะพิจารณาจากระยะเวลาที่เป็นโรคมาส่วนใหญ่ถ้าไม่ถึง 5 ปี หรือ เพิ่มหายไม่นาน บริษัทจะไม่คุ้มครองโรคและอาการนั้นๆ เพราะว่า อาจจะยังหายไม่ขาด มีโอกาสเป็นอีกได้ แต่เมื่อผ่านเวลาไป 2-3 ปี ถ้าไม่มีอาการแล้ว มั่นใจว่าหายขาดแล้ว สามารถยื่นให้บริษัททบทวนเงื่อนไขได้
  • โรคประจำตัวที่เป็นมาก่อนทำประกัน เช่น โรคหอบหืด โรคเก๊าท์ ก้อนที่เต้านม เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ โรคกระเพรา โรคความดัน ก็จะรับประกัน แบบยกเว้นโรคนั้นๆไป แต่บางโรคก็ไม่รับทำประกันไปเลย เช่น โรคหัวใจ มะเร็ง เบาหวาน SLE ความจำเสื่อม 
  • โรคที่เป็นมาแต่กำเนิด เช่น G6PD ก็จะรับประกันแบบยกเว้นความคุ้มครองโรคนั้นๆไปเช่นกัน 
  • โรคติดต่อทางเพศ เช่น HIV นั้น ถ้าเป็นก่อนทำประกันจะไม่สามารถรับประกันได้ แต่ถ้าเป็นหลังประกันแล้วก็จะไม่คุ้มครองค่าใช้จ่ายการรักษา เป็นข้อยกเว้นทั่วไป 1 ใน 26 ข้อ ตามกฏหมายกำหนด

ดังนั้นถ้าอยากทำประกันชีวิต / สุขภาพ แบบอนุมัติผ่านง่ายๆ ก็ต้องทำตอนแข็งแรงค่ะ บริษัทจะไม่มีการขอให้ตรวจสุขภาพก่อนทำประกัน แต่ถ้ามีประวัติการรักษา หรือมีโรคประจำตัว บริษัทอาจขอตรวจสุขภาพ ขอประวัติการรักษามาพิจารณาเพิ่มเติม เพื่อออกเงื่อนไขพิเศษให้ลูกค้าค่ะ 

10

“Direct Claim” และ “Fax Claim” คืออะไร

  • Fax Claim คือ การเคลมเงินประกันอีกรูปแบบหนึ่งที่เปิดบริการขึ้นมาเพื่อให้ความสะดวกสบายแก่ผู้เอาประกันไม่ต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาล (ตามเงื่อนไขความคุ้มครองของกรมธรรม์) กรณีเข้ารับการรักษากับโรงพยาบาลคู่สัญญา ( กว่า 300 แห่งทั่วไทย ) ทั่วไปใช้เวลาประมาณ 15-30 นาที หลังจากบริษัทได้รับเอกสารจากโรงพยาบาล (หรือ นานกว่านั้นหากมีความซับซ้อนในการพิจารณา)
  • Direct Claim คือ วิธีการเคลมที่ผู้เอาประกันต้องยื่นเรื่องรับค่าชดเชย ค่ารักษาพยาบาลกับทางบริษัทประกันโดยตรง เช่นกรณีไม่ได้เข้าใช้บริการกับโรงพยาบาลคู่สัญญา หรือการรักษาบางอย่างที่ไม่เข้าเงื่อนไข fax claim ( เช่น การล้างไต รักษามะเร็ง ของสัญญาอีลิท เฮลท์ ) หรือเป็นการเคลมค่าชดเชยรายวัน หรือ Fax claim ไม่ผ่าน
  • กรณีที่ Fax Claim ไม่ผ่าน ต้องสำรองจ่าย แล้วนำเอกสารใบรับรองแพทย์ รายงานการรักษา ใบเสร็จตัวจริง มาเคลมตรงกับบริษัท จะส่งผ่านตัวแทน ส่งสาขา ส่งไปรษณีษ์ ก็ได้ ส่วนสาเหตุหลักๆ คือ บริษัทมีความสงสัยว่าลูกค้า “มีโรค หรืออาการ เป็นมาก่อนทำประกัน” หรือไม่ มักเกิดกับกรมธรรม์ที่อายุสัญญา 1-2 ปี บางโรคมีระยะก่อโรคนาน อาจมีอาการมาก่อน มีประวัติการปรึกษาแพทย์มาก่อนหรือไม่ ก็จะเป็นข้อบริษัทต้องขอเวลารวบรวมข้อมูลก่อนจ่ายเคลมให้
  • ตามกฏหมาย บริษัทมีสิทธิตรวจสอบข้อมูล 90 วัน ดังนั้น ช้าเร็ว ก็ขึ้นกับว่า ลูกค้ามีประวัติการเข้าโรงพยาบาลเยอะแค่ไหน เพราะ บริษัทจะสำรวจทุกโรงพยาบาลใกล้บ้าน ตามที่อยู่ปัจจุบัน ที่อยู่ทะเบียบบ้าน ที่อยู่ที่ทำงาน เพื่อขอประวัติการรักษาทั้งหมด
  • ถ้ามั่นใจแล้วลูกค้าไม่เคยเป็น ไม่เคยมีประวัติการรักษามาก่อนทำประกัน ก็จะรีบจ่ายเคลมให้ลูกค้าทันทีค่ะ

ดังนั้น ก่อนทำประกัน ทำสำคัญมาก คือการแถลงข้อมูลสุขภาพตามจริง เพราะทุกการเจ็บป่วย มีผลต่อการทำประกัน ยกเว้น ปวดหัว ตัวร้อน เป็นไข้ ท้องเสีย ทั่วไป ไม่มีผลต่อการพิจารณา ถ้าไม่เป็นอาการที่เรื้อรัง

หลายคนก็ถามว่า แล้วทำไม บริษัทไม่ตรวจสอบข้อมูลตั้งแต่ก่อนทำประกันละ ตอบตรงนี้เลย บริษัท ยึดหลักสุจริตใจ ยึดตามที่ลูกค้าแจ้งมาในการพิจารณาค่ะ เพราะถ้าต้องตรวจสอบอาจใช้เวลานาน ลูกค้าก็จะได้รับความคุ้มครองล่าช้าไปด้วยค่ะ

ทำประกันแบบตรงไปตรงมา ดีสุด เลือกตัวแทนที่จริงจัง ไม่แนะนำให้ปกปิดข้อมูล เพราะตัวแทนไม่สามารถรับผิดชอบถ้าเกิดปัญหาจากการปกปิดข้อมูลของเราได้นะคะ

11

รักษามะเร็งด้วยยามุ่งเป้า (Targeted Therapy)

การรักษามะเร็งในปัจจุบันพัฒนามาไกลกว่าการให้ ยาเคมีบำบัด คีโม ฉายแสงแล้ว ด้วยการรักษามะเร็งด้วยการให้ ยามุ่งเป้า (Targeted Therapy) มีความจำเพาะเจาะจงในการหยุดหรือชะลอการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเพียงอย่างเดียว ส่งผลต่อเซลล์ปกติของร่างกายเพียงเล็กน้อย ทำให้ร่างกายอ่อนเพลียน้อยกว่าได้รับผลค้างเคียงน้อยกว่าการให้ยาเคมีบำบัด  ข้อมูลเพิ่มเติม คลิก

รูปแบบของยามะเร็งแบบมุ่งเป้า มีทั้งแบบยาเม็ดใช้รับประทาน ให้ทางเส้นเลือดเป็นยาที่ราคาแพงมาก ส่วนราคานั้นมีตั้งแต่ 50,000-60,000 บาท ไปจนถึง 300,000 บาทต่อเดือน ซึ่งสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ( บัตรทอง บัตร 30 บาท ) ไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายการรักษาด้วยยามุ่งเป้า จึงยังเป็นการรักษาทางเลือกในโรงพยาบาลเอกชน หรือโรงเรียนแพทย์มากกว่า

แล้วประกันสุขภาพคุ้มครองการรักษาหรือไม่

  • ปัจจุบันการรักษาด้วยการรับยามุ่งเป้าเป็นการรักษาแบบผู้ป่วยนอก ( OPD ) ซึ่งทำให้ประกันสุขภาพแบบผู้ป่วยใน (IPD) ไม่สามารถเบิกเคลมให้ส่วนนี้ได้
  • ส่วนประกันสุขภาพแบบ OPD ส่วนใหญ่จะวงเงินน้อย ( เช่น OPD จากเมืองไทยประกันชีวิตเอง สูงสุด 3,000 ต่อวัน รายละเอียด คลิก) ก็ไม่พอสำหรับค่าใช้จ่ายรับยามุ่งเป้าสูงหลักหมื่น หลักแสน
  • แต่มีแบบประกันสุขภาพ Eilte Health ที่คุ้มครองการรักษาด้วยวิธีนี้ ด้วยวงเงิน 20-100 ล้าน ต่อปี ทำให้ไม่ต้องกังวลเรื่องค่ารักษาอีกต่อไป เลือกการรักษาที่ดีที่สุดได้เลย

เทคโนโลยีการแพทย์ที่พัฒนาไปไกล เราจึงต้องการวงเงินค่ารักษาที่สูงเตรียมไว้เผื่อวางแผนสุขภาพในอนาคตของตัวเอง

มักเจอคำถามบ่อยๆ เกี่ยวกับ ประกันสุขภาพ  Q : ต้องทำพร้อมประกันชีวิตด้วยหรือ A : ใช่ค่ะ เพราะว่า เป็นสัญญาเพิ่มเติมนะคะ ต้องการสัญญาหลักประกันชีวิตก่อน นะคะ Q : ถ้าเคลมเยอะ ปรับเบี้ยหรือไม่ A : ไม่ค่ะ ปรับตามอายุค่ะ ตัวอย่างเช่น ประกันสุขภาพ Elite Health ปรับทุกปี และ D health ปรับทุก 5 ปีค่ะ Q : เป็นเบี้ยทิ้งหรอ เสียดายจัง A : เบี้ยทิ้งค่ะ เพราะเป็นสัญญาปีต่อปี เหมือนทำประกันรถ ปีเป็นหมื่นพี่เสียดายมั้ยค่ะ ไม่เคลม ไม่ชน ดีใจใช่มั้ยค่ะ เหมือนกันค่ะ แต่ชีวิตคน ซื้อใหม่ไม่ได้ ไม่เหมือนซื้อรถใหม่ค่ะ Q : มีโรคประจำตัวทำไม่ได้หรือ A : ทำได้ค่ะ บางโรค บางอาการ โดยไม่คุ้มครองโรคที่เป็นมาก่อนทำประกัน แต่บางโรคเช่น หัวใจ เบาหวาน มะเร็ง ไม่รับทำนะคะ

Q & A … เรื่องต้องรู้เมื่อต้องทำประกันสุขภาพ

13

ประกันสุขภาพ กับ ประกันโรคร้าย ต่างกันยังไง

  • ประกันสุขภาพ
    • คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลตามใบเสร็จที่โรงพยาบาลเรียกเก็บ
    • มีทั้งการ Fax Claim และ Direct Claim 
    • ค่าห้อง ค่ารักษาพยาบาล ค่าผ่าตัด ตามวงเงินของแต่ละแผนก็จะไม่เท่ากัน 
    • คุ้มครองทั้งโรคทั่วไป และโรคร้ายแรง แต่ไม่คุ้มครองโรคและอาการที่เป็นมาก่อนทำประกัน 
    • ไม่คุ้มครองค่าตรวจสุขภาพ การฉีดวัคซีน การคลอดบุตร ทันตกรรม ยกเว้น แบบประกัน Elite Health แผน 2-3 

 

  • ประกันโรคร้าย
    • คุ้มครองในรูปของสินไหมทดแทน (เงินก้อน) เมื่อตรวจเจอโรคร้าย ตามทุนประกัน และเงื่อนไขของแบบประกัน
    • ไม่ได้จ่ายค่ารักษาพยาบาลเมื่อเข้ารักษาตัวด้วยโรคร้ายที่โรงพยาบาล แต่อย่างใด 
    • มีทั้งแบบที่คุ้มครองทุกโรคร้าย แบ่งจ่ายตามระยะโรคร้าย ซีไอ เพอร์เฟค แคร์
    • คุ้มครองเฉพาะโรคในโรคหนึ่ง โรคเดียว คุ้มครองโรคมะเร็ง หรือ คุ้มครองโรคเบาหวาน

 

15

Day case ( 21 หัตถการ )

  ปกติแล้วประกันสุขภาพที่คุ้มครองเฉพาะผู้ป่วย เช่น D Health  ใช่ว่าจะต้องนอนโรงพยาบาล Admit เท่านั้นจึงจะใช้สิทธิเบิกประกันได้ เพราะด้วยเทคโนโลยีการแพทย์ทำให้การผ่าตัดหรือหัตถการบางอย่างนั้นไม่จำเป็นต้องนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาล โดยมี 21 รายการ ดังต่อไปนี้

  1. การสลายนิ่ว (ESWL: Extracorporeal Shock Wave Liththotripsy)
  2. การตรวจเส้นเลือดหัวใจโดยการฉีดสี (Coronary Angiogram / Cardiac Catheterization)
  3. การผ่าตัดต้อกระจก (Extra Capsular Cataract Extraction with Intra Ocular Lens)
  4. การผ่าตัดโดยการส่องกล้อง (Laparoscopic) ทุกชนิด
  5. การตรวจโดยการส่องกล้อง (Endoscope) ทุกชนิด
  6. การผ่าตัด หรือเจาะไซนัส (Sinus Operations)
  7. การรักษาริดสีดวงทวารโดยการฉีดยาหรือผูก (Injection or Rubber Band Ligation)
  8. การตัดก้อนเนื้อที่เต้านม (Excision Breast Mass)
  9. การตัดชิ้นเนื้อจากกระดูก (Bone Biopsy)
  10. การตัดชิ้นเนื้อเพื่อการวินิจฉัยจากอวัยวะใด ๆ (Tissue Biopsy)
  11. การตัด (Amputation) นิ้วมือหรือนิ้วเท้า
  12. การจัดกระดูกให้เข้าที่ (Manual Reduction)
  13. การเจาะตับ (Liver Puncture/Liver Aspiration)
  14. การเจาะไขกระดูก (Bone Marrow Asipiration)
  15. การเจาะช่องเยื่อหุ้มไขสันหลัง (Lumbar Puncture)
  16. การเจาะช่องเยื่อหุ้มปอด (Thoracentesis/Pleuracentesis/Thoraclc Aspiration/Thoracic Paracentesis)
  17. การเจาะช่องเยื่อบุช่องท้อง (Abdominal Paracentesis/Abdominal Tapping)
  18. การขูดมดลูก (Curettage, Dilatation & Curettage, Fractional Curettage)
  19. การตัดชิ้นเนื้อจากปากมดลูก (Colposcope, Loop diathermy)
  20. การรักษา Bartholin’s Cyst (Marsupialization of Bartholin’s Cyst)
  21. การรักษาโรคด้วยรังสีแกมม่า (Gamma knife)

    กรณีต้องตรวจรักษาตั้งแต่สองครั้งหรือมากกว่านั้น (ไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยใน หรือผู้ป่วยนอกตามการผ่าตัดหรือหัตถการ 21 รายการข้างต้น) ด้วยสาเหตุหรือโรคเดียวกัน โดยระยะเวลาห่างกันแต่ละครั้งไม่เกินกว่า 90 วัน ก็ให้ถือว่าเป็นกำรตรวจรักษาครั้งเดียวกันด้วย