9

ประกันชีวิตมี 4 แบบ

ประกันชีวิต 4 แบบ เหมาะกับความต้องการของบุคคลที่แตกต่างกัน ดังนั้นต้องดูจุดประสงค์การทำประกันเป็นสำคัญว่า ตัวเรา ต้องการทำประกันชีวิตไปเพื่ออะไร มาดูทั้ง 4 แบบกันเลยค่ะ

  • ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ
    • ลักษณะเด่น : สัญญาความคุ้มครองจะยาว ถึงอายุ 80 90 หรือ 99 ปี  และเบี้ยจะถูกกว่าแบบประกันอื่น
    • เหมาะกับ : คนที่ต้องการความคุ้มครอชีวิตสูงอย่างคนมีภาระเยอะ ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ หัวหน้าครอบครัว เนื่องจากเบี้ยประกันถูกทำทุนประกันชีวิตได้สูงเท่าที่ต้องการ หรือ อีกกลุ่มคือ คนที่ต้องการทำประกันสุขภาพ เพราะสัญญาที่ยาวทำให้เราต่ออายุสัญญาสุขภาพได้ยาวด้วย และเบี้ยยังถูกอีกด้วย
    • แบบประกันแนะนำ : เมืองไทยสมาร์ทโพรเทคชั่น 99/20
  • ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์
    • ลักษณะเด่น : สัญญามาระยะเวลาประมาณ 10-25 ปี
    • เหมาะกับ : คนที่ต้องการความวางแผนการเงินระยะต่างๆ เช่นทุนการศึกษาให้บุตร หรือเป็นวิธีบังคับตัวเองให้ออมเงินได้ด้วย และกลุ่มคนที่ต้องการประกันเพื่อไปลดหย่อนภาษีจะนิยมแบบนี้เพราะสัญญาสั้น
    • แบบประกันแนะนำ : โครงการเมืองไทย 101 พลัส
  • ประกันชีวิตแบบบำนาญ
    • ลักษณะเด่น : จะจ่ายเงินบำนาญตั้งแต่ตอนอายุ 55 หรือ 60 ปี และจะจ่ายให้จนถึงอายุ 85-99 ปี แล้วแต่แบบประกัน จะไม่ได้เงินก้อนใหญ่ทีเดียว จะเป็นการทยอยจ่าย เหมือนการจ่ายบำนาญของข้าราชการ
    • เหมาะกับ : การวางแผนเกษียญอายุ เพราะเป็นช่วงที่เราไม่ได้ทำงานแล้ว เราจะเอารายได้จากไหน ดำรงชีพต่อไป และสำหรับกลุ่มที่ต้องการลดหย่อนภาษี 200,00 หลัง
    • แบบประกันแนะนำ : โครงการเมืองไทย รีเทิร์น รีไทร์ 8505 (บำนาญลดหย่อนได้)
  • ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา
    • ลักษณะเด่น : คุ้มครองช่วงเวลาหนึ่ง 10 ปี 15 ปี ครบสัญญาไม่มีเงินคืน เป็นเบี้ยทิ้งทั่งหมด แต่เบี้ยจะถูกมากๆ ถูกกว่าแบบตลอดชีพอีก
    • เหมาะกับ : คนที่ต้องการความคุ้มครองชีวิตสูงๆ แต่ไม่อยากส่งเบี้ยแพง และต้องการคุ้มครองช่วงระยะเวลาสั้นๆเท่านั้น

รู้แบบนี้แล้ว อย่ามุ่งแต่จะทำประกันออมทรัพย์เลยค่ะ ไม่ได้เหมาะกับทุกคน แบบประกันออมทรัพย์ยังเป็นประกันที่แพงที่สุดด้วย ( เทียบจากทุนประกันชีวิตที่ได้รับ กับเบี้ยประกันที่จ่าย ) ตอบตัวเองให้ได้ก่อน จุดประสงค์ทำประกันของฉันคือ….. ตอบได้แล้ว อย่าลืมนอกตัวแทนด้วยนะคะ จะได้ช่วยแนะนำแบบประกันที่เหมาะสม พอดีๆ ไม่มากไม่น้อยเกินไปให้ลูกค้าค่ะ

Tags: No tags

Add a Comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *